เมนู

ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศล นี้ ชื่อว่า อัปปนา (ฌาน).

ว่าด้วยคำปุจฉา 5



ปริเฉทว่าด้วยคำถามที่หนึ่งของอุทเทสวาร ตั้งไว้ 4 ปริจเฉทอย่างนี้
ดังนี้
บรรดาปริจเฉทว่าด้วยถามนั้น ปริจเฉทว่า กุศลธรรมเป็นไฉน นี้
ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา. แท้จริง คำถามมี 5 อย่าง คือ
อทิฏฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้)
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ถามเทียบเคียงกับสิ่งที่รู้แล้ว)
วิมติเฉทนาปุจฉา (ถามเพื่อตัดความสงสัย)
อนุมติปุจฉา (ถามเพื่อความเห็นชอบ)
กเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง)
คำถามเหล่านั้น มีความแตกต่างกันดังนี้
อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใดที่ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้พิจารณา
ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ชัดเจนบุคคลย่อมถามปัญหาแห่งลักษณะนั้น
เพื่อความรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่อให้
ชัดเจน นี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ?
โดยปกติ ลักษณะปัญหาใด ที่รู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว
ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งไว้ให้ชัดเจนแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อเทียบเคียง
กับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน ?
โดยปกติ คนที่แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงใจ เกิดความเห็น 2
แง่ว่า อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ อะไรหนอ อย่างไรหนอ เขาย่อม
ถามปัญหา เพื่อต้องการตัด ความสงสัย นี้ ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.
อนุมติปุจฉา เป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อความเห็นชอบของภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงไร ? ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
หรือเป็นสุขเล่า ? เป็นทุกข์พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอเพื่อพิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นเป็นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นอัตตาของเรา ? ข้อนั้นไม่ควรเลยพระเจ้าข้า นี้ ชื่อว่า อนุมติ-
ปุจฉา
.
กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อประสงค์ตรัสแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ ก็สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้
เป็นไฉน ? นี้ ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.
บรรดาคำปุจฉา 5 เหล่านั้น คำถาม 3 เบื้องต้นไม่มีแก่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย เพราะเหตุไร. เพราะธรรมอะไร ๆ ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้วในกาลทั้ง 3
หรือพ้นจากกาล เป็นอสังขตะอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่
โชติช่วงแล้ว ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ชัดเจนแล้ว มิได้มี
เพราะเหตุนั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมชาติ
ใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจที่

จะต้องเทียบเคียงของธรรมชาตินั้นกับผู้อื่นจะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ หรือ
เทวดา หรือมาร หรือพรหมย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มี ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความสงสัย
ทรงข้ามพันวิจิกิจฉาแล้ว มีความสงสัยอันขจัดได้แล้วในธรรมทั้งปวง ฉะนั้น
วิมติเฉทนาปุจฉาของพระองค์จึงไม่มี. แต่ว่า ปุจฉา 2 นอกจากนี้ มีอยู่แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปุจฉา 2 เหล่านั้น พึงทราบ กตเม ธมฺมา กุสลา
ดังนี้ว่าเป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา ต่อไป
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามในธรรมที่ทรง
ยกขึ้นแสดงด้วยบทว่า กตเม ดังนี้ เพราะว่า ด้วยคำสักว่า ธมฺมา กุสลา
ดังนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อจะรู้ได้ว่า กระทำอะไรแล้ว หรือว่า ย่อมกระทำ
อะไร แต่เมื่อตรัสคำว่า กตเม แล้ว ความที่ธรรมอันพระองค์พึงยกขึ้นแสดง
เหล่านั้นมาถามแล้ว ก็ย่อมปรากฏ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมตรัสถามในธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยบทว่า กตเม ย่อมทรงแสดงธรรม
ที่ตรัสถามด้วยคำถามสองบทว่า ธมฺมา กุสลา ดังนี้ เนื้อความแห่งธรรม
เหล่านั้น ประกาศไว้แล้วแล.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ไม่ตรัสคำว่า กุสลา ธมฺมา เหมือน
มาติกา แต่ตรัสทำตามลำดับแห่งบทว่า ธมฺมา กุสลา ตอบว่า เพื่อแสดง
เทศนาธรรมทั้งหลายโดยประเภทแล้วแสดงธรรมมีชนิดต่าง ๆ เพราะว่า ใน
อภิธรรมนี้ พึงแสดงล้วน ๆ อภิธรรมเหล่านั้นมีประเภทมิใช่น้อยมีชนิดต่างๆ
มีกุศลเป็นต้น เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมนี้ พึงแสดงธรรมทั้งหลายเท่านั้น
เทศนานี้ ไม่ใช่แสดงโดยโวหาร แต่ธรรมเหล่านั้นพึงแสดงประเภทต่าง ๆ
มิใช่น้อย มิใช่แสดงเพียงสักแต่ธรรม เพราะเทศนาโดยประเภทต่าง ๆ ย่อม

นำมาซึ่งญาณในการแยกกลุ่มก้อนและญาณในปฏิสัมภิทา. พึงทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงเทศนาแห่งธรรมทั้งหลายโดยประเภทว่า กุสลา
ธมฺมา
ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่าใด ก็พึงแสดงธรรมเหล่านั้น
โดยประเภทนั้น ๆ จึงทรงกระทำลำดับบทนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
ด้วยว่าเมื่อประเภทธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงแล้ว ประเภทธรรมที่สัตว์เห็นอยู่
ย่อมถูกต้อง และพึงรู้ได้ง่าย.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ
ต่อไป

ว่าด้วยสมยศัพท์



สมเย นิทฺทิสิ จิตฺตํ จิตฺเตน สมยํ มุนิ
นิยเมตฺวาน ทีเปตุํ ธมฺเม ตตฺถ ปเภทโต
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรง
แสดงจิตในสมัยเพื่อกำหนดสมัยด้วยจิตแล้ว
แสดงธรรมทั้งหลาย โดยประเภทในสมัย
นั้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ในสมัยใด กามาวจร-
กุศลจิตเป็นต้น ก็ทรงแสดงจิตในสมัย เพราะเหตุไร เพราะทรงกำหนดสมัย
อย่างนี้ว่า ตสฺมึ สมเย ในกาลเป็นที่สุดด้วยจิตที่กำหนดสมัยนั้น ลำดับนั้นเพื่อ
ให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นประเภทที่ตรัสรู้ตามได้
ยาก ด้วยสามารถแห่งฆนะโดยสิ้น สมูหะ กิจ อารมณ์เหล่านั้นในสมัยที่
ทรงกำหนดจิตนั้นอย่างนี้ว่า แม้เมื่อมีสมัยต่างกัน ถ้าสมัยใดมีจิต สมัยนั้น
นั้นแหละ ผัสสะก็มี เวทนาก็มี.